ทำความรู้จัก คอยล์จุดระเบิด และทริคเล็ก ๆ ในการดูแลการใช้งาน

          คอยล์หัวเทียนหรือ คอยล์จุดระเบิด จุดเริ่มต้นในการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปที่ต้องมีการจุดระเบิดอยู่ตลอดเวลา จะว่าไปความสำคัญในอุปกรณ์ชิ้นนี้เทียบเท่าได้ไม่ต่างกับ เสื้อสูบหรือปั้มติ๊กที่หากมีปัญหาจะส่งผลโดยตรงทำทีจนทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด ไปจนถึงการทำงานของตัวเครื่องยนต์ สตาร์ทไม่ติด เครื่องเดินไม่เรียบ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอุปสรรคในการใช้งานของผู้ขับขี่ที่ไม่มีใครอยากเผชิญ

วันนี้ BEZ ได้รวบรวมรายละเอียดมาให้คุณได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติม เพื่อเตรียมรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่ “อาจจะ” เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ชิ้นนี้ ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย

คอยล์จุดระเบิด ทำหน้าที่อะไร ?

หลายคนคงเคยได้ยินในคำที่ว่า “ดูด-อัด-ระเบิด-คาย” ขั้นตอนการจุดระเบิดในหนึ่งรอบการทำงานของเครื่องยนต์ หน้าที่การทำงานของคอยล์จุดระเบิด จะอยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือ “ระเบิด” ตามชื่อของอุปกรณ์ชิ้นนี้ โดยทำหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงต่ำ 12V ของแบตเตอรี่ ให้ขยายเป็นไฟฟ้าแรงสูงเฉลี่ยประมาณ 20,000-40,000V และส่งกระแสไฟแรงสูงนี้ไปที่หัวเทียน
คอยล์จุดระเบิดจะมีอยู่ในเฉพาะเครื่องยนต์เบนซินเท่านั้น ในเครื่องยนต์ดีเซลจะเป็นรูปแบบการทำงานอีกระบบที่ไม่ต้องอาศัยประกายไฟในการจุดระเบิด ให้สังเกตบริเวณด้านบนของเครื่องยนต์ที่จะมีเป็นเหมือนปลั๊กเสียบลงไปที่ฝาครอบวาล์ว
เมื่อรู้หน้าที่การทำงานของอุปกรณ์ชิ้นนี้ไปแล้ว ต่อไปคือการสังเกตปัญหาในการใช้งาน อาการอะไรบ้างที่อาจบ่งชี้ได้ว่าเกิดขึ้นจากปัญหาที่ตัวคอยล์จุดระเบิด ตามไปดูกัน

5 อาการบอกถึง ปัญหาของคอยล์จุดระเบิด 

หากขับรถอยู่ดี ๆ แล้วรถของคุณมีความปกติ ไม่แน่ใจว่าเป็นสาเหตุมาจากคอยล์จุดระเบิดเสื่อมและเสียหรือไม่ ? ในวันนี้เราได้รวบรวม “อาการ” มาให้คุณได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย !

 

  1. คอยล์จุดระเบิดเสียจนทำให้ไม่มีไฟหรือการทำงานผิดปกติ จะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า “เบาดับ” ขณะที่รอบเครื่องต่ำ ตอนเหยียบคันเร่งก็เร่งไม่ขึ้น จนถึงมีอาการ เครื่องยนต์ดับขณะออกตัว หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อาการเร่งเครื่องไม่ขึ้น

  2. มีไฟเตือนรูปเครื่องหรือไฟเอนจิ้นโชว์ เป็นไปได้ว่าที่ส่วนคอยล์จุดระเบิดอาจมีปัญหา

  3. รอบเครื่องยนต์มีอาการสะดุด สั่นขณะเหยียบเร่ง รอบเครื่องสวิงขึ้นลงไปมา หรือรอบตก 

  4. ความร้อนที่ผิดปกติที่เป็นไปได้ว่า จะมีบางคอยล์เท่านั้นที่เสียแล้วจะเกิดความร้อนสูงกว่าคอยล์ตัวอื่น ๆ ให้ลองสัมผัสที่ตัวปลั๊กคอยล์ด้านบน และถ้าคอยล์ตัวไหนเสียจะร้อนผิดปกติกว่าคอยล์ตัวอื่น ๆ

  5. คอยล์ไหม้หรือฟิวส์ขาด หากคอยล์จุดระเบิดมีปัญหาแล้วผู้ใช้รถยังฝืนใช้รถต่อไปในขณะที่คอยล์เสีย อาจทำให้คอยล์เกิดการไหม้หรือฟิวส์ขาดได้ ส่งผลต่อเนื่องให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าส่งไปให้ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 

คุณเคยเจออาการเหล่านี้ในรถของคุณบ้างแล้วหรือยัง ถ้าเป็นอยู่สันนิษฐานได้เลยว่ามาจากปัญหาที่คอยล์จุดระเบิด ยิ่งถ้าเป็นรถที่ไมล์วิ่งแตะ 100,000 กิโลเมตร อาจถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องตรวจสอบที่จุดนี้หากรถมีปัญหา เพราะอายุการใช้งานของคอยล์จุดระเบิดจะอยู่ที่ประมาณนี้ และอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ได้ด้วยที่ส่งผลให้อายุการใช้งานของคอยล์จุดระเบิดเสื่อมถอยลงกว่าเดิม สาเหตุที่ทำให้คอยล์จุดระเบิดเสียมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

สาเหตุที่ทำให้ คอยล์จุดระเบิดเสีย มีอะไรบ้าง ?

หลังจากที่ได้เรียนรู้อาหารของคอยล์จุดระเบิดเสื่อมและเสียมาบ้างแล้ว และสาเหตุที่ทำให้คอยล์จุดระเบิดของรถคุณเสียไวก่อนเวลาก็คือ..

  1. เรื่องความชื้น

ความชื้นกับระบบไฟเหมือนเป็นของแสลง ความชื้นจากการขับขี่หรือการล้างห้องเครื่อง ย่อมส่งผลให้เกิดความชื้นสะสมภายในคอยล์จุดระเบิดได้ ส่งผลให้คอยล์เสียหรือเสื่อมสภาพได้ 

 

การล้างห้องเครื่องเหมือนเป็นกรรมวิธีที่เสี่ยงที่สุดที่จะทำให้คอยล์จุดระเบิดเสีย การใ้ช้ น้ำ โฟม ดรายไอซ์ ฯลฯ ล้วนสร้างความชื้นตกค้างได้แม้จะมั่นใจแค่ไหนว่าเช็ดจนแห้งเรียบร้อย วิธีการที่ดีที่สุดคือ เปลี่ยนจากการล้างด้วยน้ำเป็นการเช็ดทำความสะอาดภายในห้องเครื่องแทน เนื่องจากการใช้พวก น้ำ โฟม ดรายไอซ์ หากไม่เช็ด ไม่เป่าลมจนแห้งสนิท จะทำให้คอยล์เสียหรือเสื่อมสภาพได้ 

 

  1. ได้รับแรงกระแทกมากเกินไป

หากรถยนต์ของคุณได้รับแรงกระแทกมากจนเกินไป โดยเฉพาะการได้รับแรงกระแทกจากการชน หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ ความรุนแรงเหล่านั้นก็อาจจะทำให้คอยล์จุดระเบิดได้รับความเสียหายตามไปด้วย

 

  1. ความร้อนสูงเกินไป

 

การใช้เชื้อเพลิงทางเลือกอย่าง LPG/NGV จะทำให้อุณหภูมิในห้องเครื่องสูงกว่าปกติมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ แน่นอนว่าชิ้นส่วนอย่างคอยล์จุดระเบิดก็จะต้องเกิดความร้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ชิ้นส่วนนี้เสื่อมสภาพหรือเสียก่อนอายุการใช้งาน

 
เมื่อรู้ถึงสาเหตุเป็นอย่างดีแล้ว ก็แนะนำให้ทุก ๆ คนหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้คอยล์จุดระเบิดเกิดความเสียหายให้ได้มากที่สุด และถ้าหากคุณยังคงกังวลว่า “อาจจะเผลอ” ทำให้คอยล์จุดระเบิดเกิดความเสียหายแบบไม่ทันตั้งตัว เราได้รวบรวมวิธีการดูแลมาให้คุณได้ทำความเรียบร้อยแล้ว รับรองว่าปัญหาเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน !

การดูแลคอยล์จุดระเบิด ทำได้อย่างไร ?

เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต คุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้วิธีการดูแลคอยล์จุดระเบิด “ขั้นพื้นฐาน” ให้ดี เพื่อไม่ให้การเดินทางของคุณสะดุด วิธีการดูแลคอยล์จุดระเบิดมีดังต่อไปนี้

 

  • หากต้องขับรถไกล ๆ ควรจอดพักรถในทุก ๆ 200-300 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้คอยล์จุดระเบิดทำงานหนักเกิดไป 

  • อย่าฉีดน้ำล้างห้องเครื่อง เนื่องจากน้ำอาจรั่วเข้าสู่ระบบการทำงานได้ 

  • ควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำหรือบริเวณที่มีน้ำท่วมขังสูง

  • หากเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงแบบ LPG/NGV ที่มีความร้อนสูงมาก ควรสลับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันบ่อย ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานของคอยล์จุดระเบิด 

  • ถนนไม่เรียบ เป็นหลุมเป็นบ่อ อย่าใช้ความเร็วสูง เพราะถ้าหากรถขับเร็วตกหลุมกระแทกแรง ๆ จะมีผลเสียทำต่อคอยล์จุดระเบิดได้

จะเห็นได้ว่าคอยล์จุดระเบิด ถือเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญกับรถยนต์มาก ๆ หากเกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นก็ตามไม่แนะนำให้ตรวจสอบด้วยตัวเอง เพราะถ้าหากทำผิดขั้นตอนไปแม้แต่นิดเดียว รับรองได้เลยว่ารถยนต์สุดรักสุดหวงของคุณ จะเสียหายมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน และถ้าหากกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์คุณภาพ น้ำมันเครื่องมาตรฐาน ฯลฯ  BEZ คือหนึ่งในผู้ให้บริการที่พร้อมดูแลคุณ ติดต่อสอบถาม เพื่อแจ้งความต้องการหรือปัญหาต่าง ๆ เพื่อรับคำปรึกษาได้ตลอดเวลา คลิกเลย !